ผลงานครู
ชื่อเรื่อง
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมหนองศาลา |
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา สาสนาและวัฒนธรรมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายไกรภพ ทองระย้า
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนมัธยมหนองศาลา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการคิดวิเคราะห์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีคุณภาพ (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริม
การคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้
ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนมัธยมหนองศาลา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบวัดการคิดวิเคราะห์เพื่อศึกษา องค์ประกอบการคิดวิเคราะห์ชนิดเลือกตอบ
4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 2) รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) แบบวัดการคิดวิเคราะห์เพื่อศึกษาการคิดวิเคราะห์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จำนวน 20 ข้อ 4) แบบประเมินผลการเรียนรู้ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มี 5 องค์ประกอบ คือ การจับคู่ (Matching) การจัดประเภท (Classifying) การวิเคราะห์หาที่ผิด
(Analyzing Errors) การสร้างข้อสรุปทั่วไป (Generalizing) และการสรุปเป็นหลักเกณฑ์เฉพาะ
(Specifying) 2) รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยทฤษฎีแนวคิดพื้นฐาน หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ
การวัดและประเมินผล และได้รับการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญใน ระดับเหมาะสมมากที่สุด
3) นักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับ
ข
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีการคิดวิเคราะห์ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด